เมนู

2. อรรถกถาทุติยสุตตันตนิเทศ


พระสารีบุตรเถระประสงค์จะตั้งสูตรอื่นอีกแล้วชี้แจงถึงแบบอย่างแห่ง
อินทรีย์ทั้งหลาย จึงแสดงพระสูตรมีอาทิว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อินทรีย์ 5 เหล่านี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า เย หิ เกจิ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นบทถือเอาโดยไม่มีเหลือ. หิ อักษรเป็นนิบาต
ลงในอรรถเพียงให้เต็มบท (บทสมบูรณ์). บทว่า สมณา วา พฺราหฺมณา วา
ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งโวหารของโลก. บทว่า สมุทยํ เหตุเกิดคือปัจจัย.
บทว่า อตฺถงฺคมํ ความดับคือถึงความไม่มีแห่งอินทรีย์ที่เกิดแล้ว หรือความ
ไม่เกิดแห่งอินทรีย์ที่ยังไม่เกิด. บทว่า อสฺสาทํ คืออานิสงส์. บทว่า อาทีนวํ
คือโทษ. บทว่า นิสฺสรณํ อุบายเครื่องสลัดออก คือ ออกไป. บทว่า
ยถาภูตํ คือตามความเป็นจริง. บทว่า สมเณสุ คือผู้สงบบาป. บทว่า
สมณสมฺมตา ได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะ คือ เราไม่ได้รับยกย่องว่าเป็น
สมณะ. เมื่อกล่าวว่า สมฺมตา ด้วยอำนาจแห่งปัจจุบันกาล เป็นอันกล่าว
ฉัฏฐีวิภัตติในบทว่า เม นี้ ด้วยอำนาจแห่งลักษณะของศัพท์.
บทว่า พฺราหฺมเณสุ คือผู้ลอยบาป บทว่า สามญฺญตฺถํ สามัญ
ผล คือประโยชน์ของความเป็นสมณะ. บทว่า พฺรหฺมญฺญตฺถํ พรหมัญผล
คือ โยชน์ความเป็นพราหมณ์ แม้ด้วยบททั้งสอง ก็เป็นอันท่านกล่าวถึง
อรหัตผลนั่นเอง.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สามญฺญตฺถํ ได้แก่ ผล 3 เบื้องต่ำ. บทว่า
พฺรหฺมญฺญตฺถํ ได้แก่ อรหัตผล. เพราะทั้งสามัญผลและพรหมัญผลก็คือ